รัฐบาลไทย ปราบปรามสื่อลามกอนาจาร และการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต
จากสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนไป เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คนโดยส่วนใหญ่สื่อสารกันโดยใช้สื่อโซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวัน ทั้ง Facebook, Twitter, LINE ฯลฯ เรียกว่าตั้งแต่ลืมตาตื่นจนถึงเข้านอน เพราะสื่อเหล่านี้มีความรวดเร็ว เป็นที่แสดงออกทางความคิด ความรู้สึก เสรีภาพ ที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน นั่นกลับยิ่งมีช่องโหว่ ให้เหล่ามิจฉาชีพใช้ล่อหลอก เด็กและเยาวชนให้ตกเป็นเหยื่อสื่อลามกอนาจาร
รัฐบาล ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้จัดตั้งคณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต ( Thailand Internet Crimes Against Childern หรือ TICAC ) ขึ้นเมื่อต้นปี 2559 เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหาย และจับกุมตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย
TICAC 2009
ต่างชาติมองว่าประเทศไทยเพิกเฉยต่อปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศของเด็ก เนื่องจากพบการครอบครอง ส่งต่อ เผยแพร่ คลิป-ภาพลามกอนาจารเด็ก และมีคดีการละเมิดเด็กสูงขึ้น
2015
รัฐบาลออกกฎหมายจัดการผู้กระทำผิด รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาออกกฎหมายอาญา มาตรา 287/1 และ 287/2 เอาผิดผู้ครอบครอง ส่งต่อ หรือเผยแพร่สื่อลามกอนาจารเด็ก รวมทั้งเอาผิดผู้ที่นำสื่อลามกอนาจารเด็กไปทำเป็นการค้าด้วย
กฎหมายมีผลบังคับใช้ กฎหมาย มาตรา 287/1 และ 287/2 มีผลบังคับใช้
ตั้งหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย นายกรัฐมนตรีสั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งคณะทำงานเฉพาะทางขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับให้มีประสิทธิภาพ
2016
ตั้ง TICAC คณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต (Thailand Internet Crimes Against Children) ชื่อย่อ TICAC ถูกตั้งขึ้นมาภายใต้หลักการยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
ตั้ง CAC ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก 2 แห่ง TICAC ทำงานประสานกับมูลนิธิ Hug Project และ A21 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก Child Advocacy Center หรือ CAC จำนวน 2 แห่งที่เชียงใหม่ และชลบุรี
จับกุมรวม 25 คดี ปี2559 สามารถจับกุมได้จำนวน 25 คดี และช่วยเหลือเด็กผู้เสียหายได้ 13 คน
ไทยอยู่ tier 2 watch list ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ tier 2 watch list จากรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
2017
ลงนามในข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลกับสหรัฐอเมริกา TICAC ลงนามในข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลเพื่อต่อต้านการแสวงประโยชน์จากเด็ก กับ U.S. National Center for Missing and Exploited Children หรือ NCMEC ช่วยให้เข้าถึง CyberTipline Report ได้โดยตรง และสามารถช่วยเหลือเด็กได้อย่างรวดเร็ว
ตั้ง CAC ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก แห่งที่ 3 TICAC ร่วมกับมูลนิธิ For Freedom International Foundation จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก CAC ที่จังหวัดภูเก็ต เพิ่มเป็นแห่งที่ 3
ทำเป็นคู่มือ TICAC 101 ถอดบทเรียนและปรับวิธีการทำงานให้เท่าทันกับรูปแบบอาชญากรรม โดยจัดทำเป็นคู่มือ TICAC 101
จับกุม 68 คดี ปี 2560 สามารถจับกุมคดีสะสมจำนวน 68 คดี และช่วยเหลือเด็กผู้เสียหายได้ยอดสะสมจำนวน 50 คน
2018
เพิ่มกำลังพลเป็น 150 คน TICAC กำลังพลเพิ่มเป็น 150 คน เพื่อให้รองรับกับปริมาณคดีที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี
ตั้ง CAC ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก แห่งที่ 4 TICAC ได้ร่วมมือกับมูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว และ บ้านแสงสว่าง ตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก CAC ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแห่งที่ 4
ตั้ง CAC ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก แห่งที่ 5 TICAC ร่วมมือกับมูลนิธิ One Sky Foundation ตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก CAC ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแห่งที่ 5
จับกุมสะสมรวม 136 คดี ปี 2561 สามารถจับกุมคดีได้ 68 คดี ช่วยเหลือเด็กผู้เสียหายได้จำนวน 48 คน รวมยอดสะสมการจับกุมเป็น 136 คดี ช่วยเหลือเด็กผู้เสียหายได้สะสมจำนวน 98 คน
ปรับให้ไทยดีขึ้นเป็น Tier 2 ประเทศสหรัฐอเมริกาจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ ปรับอันดับประเทศไทยดีขึ้นเป็น Tier 2 ซึ่งถือว่าเป็นอันดับที่ดีที่สุดของไทย ตลอดระยะเวลา 9 ปี
2019
จัดทำฐานข้อมูลผู้เสียหาย จัดทำฐานข้อมูลเด็กผู้เสียหายที่ถูกละเมิดผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อความรวดเร็วในการพิสูจน์ทราบตัวบุคคล และเพื่อเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
อบรมถึงในโรงเรียน จัดทำโครงการ “น้องต้องรู้” บรรยายและให้ความรู้ ถึงในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย รวมจำนวน 12 แห่ง
จับกุมสะสมรวม 208 คดี ตลอดปี 2562 สามารถจับกุมได้ 72 คดี ช่วยเหลือเด็กผู้เสียหายได้จำนวน 46 คน มียอดคดีสะสมจำนวน 208 คดี ช่วยเหลือเด็กผู้เสียหายได้ยอดสะสมจำนวน 144 คน
2020
ยอดผู้กระทำผิดพุ่งสูงช่วงโควิด-19 จากกรณีวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 ในช่วง 4 เดือน ( 1 ม.ค. – 30 เม.ย.63 ) NCMEC แจ้งข้อมูลการกระทำความผิดจากในประเทศไทยพู่งสูงถึง 160,000 เรื่อง มากกว่าที่เกิดขึ้นตลอดปี 2562 ที่มีเพียง 120,000 เรื่อง และมีผู้แจ้งเบาะแส ทางเพจ Facebook ของ TICAC จำนวน 254 รายการ สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการกระทำความผิดที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ
TICAC เพิ่มกำลังพล เป็น 190 คน จากแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกปีทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยงาน TICAC ขึ้นเป็น 190 คน
เพียงแค่ 50 วัน จับกุมได้ 63 คดี TICAC ระดมจับกุมผู้กระทำผิดในช่วง 15 เม.ย. – 4 มิ.ย.63 ได้ถึง 63 คดี จับผู้กระทำความผิดจำนวน 47 ราย สามารถช่วยผู้เสียหายได้จำนวน 25 ราย
รัฐบาลมุ่งมั่นทำงานต่อไป
VIDEO
รัฐบาลโดยหน่วยงาน TICAC ยังคงมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าปราบปรามสื่อลามกอนาจารและการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ตอย่างจริงจังต่อไป