ประเทศไทยแก้ปัญหาปลดธงแดง ICAO
ยังจำกันได้ไหมว่าเมื่อปี 2558 ประเทศไทยถูกองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ICAO ซึ่งก่อตั้งโดยองค์การสหประชาชาติ ประกาศติดธงแดง หลังตรวจพบว่าระบบการบินพลเรือนของไทยบกพร่องตามหลักมาตรฐานสากล โดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยที่มีมากถึง 33 ข้อ ส่งผลยให้นานาชาติลดความเชื่อมั่น สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยอย่างมาก
เมื่อค้นดูที่ต้นเหตุ พบว่าเป็นปัญหาที่ถูกซุกอยู่ใต้พรมหมักหมมมานานหลายรัฐบาล และมีการฉกฉวยผลประโยชน์จากผู้มีอิทธิพลต่อเนื่องหลายยุคหลายสมัย จนมาถึงรัฐบาล คสช.ที่นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงมือแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง จนใช้เวลาเพียง 2 ปี 4 เดือนเท่านั้นก็สามารถปลดธงแดงลงสำเร็จ เมื่อประเทศไทยสามารถเรียกความเชื่อมั่นจากนานาชาติกลับมา อุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะนำประเทศก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในอนาคต
ICAO

2005
สายการบินเกิดขึ้นมากมาย แต่ขาดมาตรฐานความปลอดภัย
ประเทศไทยเพิ่มสายการบิน จาก 12 เป็น 41 สายการบิน เป็นแบ่บเช่าเหมาลำ และสายการบินต้นทุนต่ำ
2009
ICAO เตือนกรมการบินพลเรือนไทย
มีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะเป็นทั้งผู้คุมกฎเกณฑ์ และให้บริการท่าอากาศยาน
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และรับรองความปลอดภัยไม่สอดคล้องกับสายการบินที่เพิ่มขึ้น
เพิกเฉยไม่จ้างผู้เชี่ยวชาญ หรือส่งเจ้าหน้าที่อบรมตามมาตรฐาน ICAO
กฎระเบียบ และ พ.ร.บ.เดินอากาศของไทยล้าหลัง
2015
พบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัย
ICAO ตรวจพบ 33 ข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย ด้านการบินพลเรือนของไทย
ICAO ประกาศติด “ธงแดง”
เป็นสัญลักษณ์ว่าไทยสอบตกมาตรฐานความปลอดภัยการบินพลเรือน โดยได้คะแนนเพียง 35.6 % จากคะแนนผ่านเกณฑ์ 55 %
รัฐบาลรื้อโครงสร้างกรมการบินพลเรือนใหม่
รัฐบาล คสช. ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (ศบปพ.) เพื่อแกัไขปัญหาโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมด
แยกหน้าที่ความรับผิดชอบ
ศบปพ. แยกกรมการบินพลเรือนเดิม ออกเป็น 3 หน่วยงานตามความรับผิดชอบ
- สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)
- กรมท่าอากาศยาน
- กลุ่มค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือประสบภัย และ กลุ่มนิรภัยการบินและสอบสวนอากาศยานประสบอุบัติเหตุ
2016
จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาข้อบกพร่อง
CAAT ว่าจ้างบริษัท CAAi เพื่อปรึกษาการปรับแก้ 33 ข้อบกพร่อง เพื่อขอใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศจาก ICAO ใหม่
ตั้งคณะทำงานลงมือแก้ไขปัญหา
ก.คมนาคมตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง CAATและ CAAi เพื่อกำกับการทำงาน
ปรับแก้ตามมาตรฐาน ICAO
คณะกรรมการร่วมฯ เร่งตรวจสอบใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศทุกสายการบิน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO
ฝึกอบรมผู้ตรวจสอบมาตรฐาน
เเต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนโดยมี รมว.คมนาคมเป็นประธาน
สำนักงานการบินพลเรือนของฝรั่งเศส ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยฝึกอบรม “ผู้ตรวจสอบ” และให้คำปรึกษาในการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน
ปรับระบบการรายงานผลด้านความปลอดภัย
สำนักงานการบินพลเรือนของญี่ปุ่น แนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเทคนิคในการตรวจสอบความสมควรเดินอากาศ และปรับปรุงระบบการรายงานผลด้านความปลอดภัย
2017
สายการบินแรกที่ผ่านการประเมิน
สายการบิน Bangkok Airways ผ่านการประเมิน และได้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ เป็นสายการบินแรก
พร้อมแล้วสำหรับการตรวจสอบอีกครั้ง
CAAT เชิญให้ ICAO เข้ามาตรวจสอบไทยอีกครั้งเพื่อปลดธงแดง
ระงับทุกเที่ยวบินที่ยังไม่ผ่านการประเมิน
สั่งระงับการให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทุกสายการบินที่ยังไม่ได้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศตามเงื่อนไข ICAO
เจ้าหน้าที่ ICAO เข้าตรวจสอบครั้งที่สอง
ICAO เข้าตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยการบินพลเรือนอีกครั้ง
ไทยปลดธงแดง ICAO ได้สำเร็จ
ICAO ประกาศปลดธงแดงประเทศไทย โดยใช้เวลาแก้ไขทั้งสิ้น 4 ปี
ติดตามอ่านบทความเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ pmdu.go.th หัวข้อ จากธงแดงโดย ICAO สู่วันที่เครื่องบิน-ท่าอากาศยานไทย ปลอดภัยเทียบสากล