เป็นโชคดีของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่บนภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม ส่งผลให้ไทยขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองแห่งพืชผักผลไม้นานาชนิด และยังมีให้เลือกรับประทานได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ขาดแคลน ทำให้ผลไม้ทั้งสดและแปรรูป กลายเป็นสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเกษตรกรไทยปลูกไม้ผล 57 ชนิด บนพื้นที่ประมาณ 7.7 ล้านไร่ เก็บผลผลิตได้ปีละประมาณ 10.81 ล้านตัน โดยมีมูลค่าการส่งออกราว 4.5 หมื่นล้านบาทในแต่ละปี
แต่ที่ผ่านมา พบปัญหาเกี่ยวกับการผลิต การซื้อขาย รวมไปถึงการส่งออก โดยเฉพาะการ

นอกจากนี้ยังพบว่า การส่งออกผลไม้สดของไทยกระจุกตัวอยู่ที่ผลไม้เพียง 3 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย และมังคุด คิดเป็นสัดส่วนรวมกันเกือบ 90% ของ
นับตั้งแต่รัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ปี 2561 รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้วางแนวทางแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวคิดจัดตั้ง “ระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก” หรือ Eastern Fruit Corridor : EFC นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และได้รับ
เหตุที่ต้องเลือกดำเนินการในพื้นที่ภาคตะวันออก ก็เพราะต้องการเชื่อมต่อ “ภาคเกษตรกรรม” เข้ากับ “ภาคอุตสาหกรรม” ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ซึ่งมีโครงสร้างพร้อมรองรับ โดยจะมีการสร้างห้องเย็นขนาดใหญ่เพื่อเก็บรักษาผลไม้ให้คงความสดใหม่ได้โดยไม่ต้องรีบขาย ขณะที่

เป้าหมายของโครงการ “ระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก” คือ สร้างมาตรฐานระบบการซื้อขายให้เป็นสากล เชื่อมโยงกับ
การผลักดันโครงการนี้ ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี จึงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างโดยช่วงเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา
ภายใต้โครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก ความร่วมมือของ 3 หน่วยงานมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยปตท.จะเป็นผู้ลงทุนจัดทำระบบ
ด้านสำนักงาน EEC จะเป็นผู้วางกลไกการบริหาร รวมถึงประสานงานเพื่อคัดสรรผู้บริหารงานของโครงการ โดยเฉพาะจากเอกชนผู้เชี่ยวชาญการค้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สหกรณ์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประโยชน์จากโครงการกลับไปสู่ประชาชนในพื้นที่ ที่สำคัญระเบียงผลไม้ตะวันออก ได้ถูกกำหนดให้เป็นโครงการหลักของแผนพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่ EEC ที่ปรับการทำธุรกิจให้เป็นไปตาม “ความต้องการของตลาด” คือ การวางธุรกิจทั้งระบบจากการกำหนดสินค้าและบริการที่ตลาดต้องการ รวมถึงกำหนดวิธีการค้า-การขนส่ง-การเพาะปลูก ให้ตรงเป้า

ในส่วนรูปแบบของโครงการ จะมีการสร้างห้องเย็นสำหรับจัดเก็บผลไม้ อาคารคลังสินค้า
โครงการ “ระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก” ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ
- ศึกษา ติดตามความต้องการของตลาดทั้งต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งวงรอบ และปริมาณการผลิตทั้ง ทุเรียน มังคุด และผลไม้อื่น ๆ ของภาคตะวันออก
- วางระบบการค้าสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นการค้าผ่าน e-commerce และ e-auction รวมทั้งการลงทุนการบรรจุหีบห่อจากวัสดุธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ และสามารถขนส่งทางอากาศได้สะดวก เพื่อให้ผลไม้ของภาคตะวันออกเข้าสู่ตลาดสากล
- จัดระบบสมาชิก ชาวสวนผลไม้สหกรณ์ ที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยเกษตรกรต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ได้สินค้าคุณภาพพรีเมียม และตรงความต้องการของตลาด
- จัดกิจกรรมเสริม เช่น การประมูลผู้ส่งออก (exporter auction) ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (finished product) เป็นต้น

โครงการนี้จะนำร่องด้วยทุเรียน ซึ่งเป็นราชาผลไม้ของไทย รวมทั้งผลไม้อื่น ๆ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ต้องการเก็บรักษาคุณภาพสินค้าให้สดใหม่ เช่นอาหารทะเล
คาดว่าเมื่อโครงการ “ระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก” เริ่มอย่างเป็นทางการ จะทำให้เกิดมูลค่าการลงทุนและการซื้อขายผลไม้ในโครงการถึง 51,931 ล้านบาท และที่สำคัญยังจะช่วยลดภาระงบประมาณของรัฐบาลในการอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรระยะยาวอีกด้วย ส่วนผลประโยชน์ที่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกจะได้รับนั้น รัฐบาลมั่นใจว่า จะสามารถลดปัญหาด้านอุปทาน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณผลผลิตทางการเกษตรขาดแคลน หรือมากจนล้นตลาด ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำได้ และยังเพิ่มอำนาจการต่อรองราคา สร้างกำไรให้สูงขึ้น โดยคาดว่าเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนใหม่ของนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

โดยกลไกทั้งหมดนี้ จะช่วยขยายตลาดส่งออกผลไม้ไทยให้กระจายตัวไปยังนานาชาติเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตลาดนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ที่เข้ามาประเทศไทยจำนวนมาก อาทิ รัสเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอาเซียน ไม่กระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่ประเทศเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งโครงการนี้จะเป็นโมเดลที่จะขยายไปในภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไปด้วย
การที่รัฐบาลเดินหน้ายกระดับให้ประเทศไทยกลายเป็นมหานครผลไม้ของโลก ก็เพื่อจะช่วยให้พี่น้องเกษตรกร ซึ่งมี
***หมายเหตุ Blast freezer เป็นห้องเย็นสำหรับแช่เยือกแข็งอาหารที่ถูกควบคุมอุณหภูมิที่ -30 องศาเซลเซียส โดยทำให้น้ำภายในเซลล์ของผักผลไม้เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นเกล็ดน้ำแข็งในเวลารวดเร็ว โดยไม่ทำให้ผนังเซลล์แตก เพื่อการเก็บรักษาให้ได้นานยิ่งขึ้น
***หมายเหตุ Cold storage เป็นห้องเย็นสำหรับแช่ในอุณหภูมิไม่ต่ำถึงขั้นจุดเยือกแข็ง หรือประมาณ 3–7 องศาเซลเซียส ทำให้การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ลดลง ชะลอเวลาที่อาหารจะเสีย
ใส่ความเห็น