ใจความสำคัญ
- ทุกปี กรมประมง
จะประกาศ ปิดทะเล อันดามัน โดยจำกัด การทำประมง ในพื้นที่ จ. ภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ครอบคลุม พื้นที่ 4,696 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้ ทะเล และสัตว์น้ำ มีโอกาส ฟื้นฟู โดยในปีนี้ กำหนด ให้ปิด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 รวมระยะเวลา 3 เดือน ตลอดจน ห้ามใช้ เครื่องมือ จับสัตว์น้ำ บางชนิด ในบริเวณ ชายฝั่ง ซึ่งเป็น พื้นที่ วางไข่ และอนุบาล สัตว์น้ำ ที่เกิดใหม่ - จากการปิดทะเล
อันดามัน 3 เดือน ในปีที่ผ่าน ๆ มา พบว่า บริเวณ ทะเลกระบี่ มีฝูง ลูกปลาทู เพิ่มขึ้น จำนวนมาก และในพื้นที่ ทะเล อันดามัน ตอนล่าง มีสถิติ การจับ สัตว์น้ำ ได้ใน ปริมาณมากขึ้น จาก 207,236 ตัน เมื่อปี 2560 เพิ่มเป็น 290,035 ตัน เมื่อปี 2563 ดังนั้น การปิดทะเล นอกจาก จะเป็น การอนุรักษ์ ทรัพยากร แล้ว ยังช่วย ให้ชาวประมง จับสัตว์น้ำ ได้ตามขนาด ที่เหมาะสม และในปริมาณ เพิ่มขึ้น ทุกปีอีกด้วย
ทะเลฝั่งอันดามัน
ในอดีต ประเทศไทยเคยทำประมงอย่างไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างสมดุล รวมทั้งมีการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือประมงที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทางทะเล เมื่อรัฐบาล
ช่วงที่เหมาะสมต่อการปิดทะเลที่สุด คือ ระหว่างเดือนเมษายนไปจนถึงมิถุนายน เนื่องจากเป็นฤดูวางไข่และอนุบาลตัวอ่อนของบรรดาสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะตลอดบริเวณชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ จากการสำรวจพบว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมจะมีความหนาแน่นของสัตว์น้ำสูงสุดถึง 690 ตัวต่อ 10 ตารางเมตร เรียกได้ว่า การปิดทะเลได้ช่วยให้ทรัพยากรสัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้นและธรรมชาติก็ได้ฟื้นตัวกลับมาสวยงามอีกครั้งอย่างเห็นได้ชัด
เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในทะเลอันดามันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ส่งผลให้สัตว์น้ำเกิดการปรับตัวทางด้านชีววิทยาการสืบพันธุ์ และวางไข่
ด้วยเหตุนี้ การออกกฎหมายคุ้มครองฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน จึงไม่สามารถกำหนดเป็นช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละปีได้ แต่จำเป็นต้องปรับห้วงเวลาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ นอกจากนี้ การกำหนดประเภทเครื่องมือประมงก็มีความสำคัญ เนื่องจากการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมจะมีผลต่อระบบนิเวศวงจรชีวิตของสัตว์น้ำด้วยเช่นกัน รัฐบาล ภายใต้

กรมประมง

รายละเอียดการกำหนดชนิดของเครื่องมือประมง วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขที่สามารถทำการประมงในช่วงประกาศใช้มาตรการปิดทะเล มีดังนี้
1. เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร และต้องให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน นอกเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น
2. เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางวัน และต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น
3. เครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีขนาดช่องตาอวนตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป และมีความยาวอวนไม่เกิน 2,500 เมตรต่อเรือประมง 1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้ นอกนั้นให้ทำประมงเฉพาะนอกเขตทะเลชายฝั่ง
4. เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง อวนหมึก อนุญาตให้ใช้ทำการประมงได้
5. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้เครื่องปั่นไฟ ให้ทำการประมงที่นอกเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น
6. ลอบปูที่มีขนาดตาอวนตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้ แต่ลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบ 2.5 นิ้วขึ้นไป ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น
7. ลอบหมึกทุกชนิด อนุญาตให้ใช้ทำการประมงได้
8. ซั้งทุกชนิดของประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง อนุญาตให้ใช้ทำการประมงได้
9. คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลขนาดความยาวไม่เกิน 18 เมตร มีความกว้างของปากคราดไม่เกิน 3.5 เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า 1.2 เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน 3 อัน (หน่วย) ต่อเรือกล 1 ลำ ที่ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2560
10. อวนรุนเคย
11. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก แผงยกปูจักจั่น อนุญาตให้ใช้ทำการประมงได้
12. เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง ยังอนุญาตให้ใช้ทำการประมงได้
13. การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงอื่นใด อนุญาตให้ใช้ทำการประมงได้ สำหรับการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือในข้อ 3 , 4 , 5 , 6 และ 7 จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 และจะต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมง ตามมาตรา 67, 69 หรือ 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 หากผู้ใดฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาทไปจนถึง 30 ล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องได้รับโทษทางปกครอง ซึ่งกรมประมงได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็ง ใช้หลักการทำงาน 3 ป. คือ ป้อง ปราม และปราบ

จากสถิติของกรมประมงในปี 2563 หลังจากปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน บริเวณทะเลกระบี่พบฝูงลูกปลาทูเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ส่วนฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างก็มีปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 207,236 ตันใน ปี 2560 เป็น 290,035 ตันใน ปี 2563 และจากการติดตามเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่อนุญาตให้ทำประมงในพื้นที่ปิดทะเลได้ เช่น อวนกุ้ง และอวนปู พบว่า มีการจับสัตว์น้ำในขนาดที่เหมาะสม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของท้องทะเลฝั่งอันดามันได้เป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่า การปิดทะเลเป็นประโยชน์ต่อชาวประมง เพราะการปล่อยให้สัตว์น้ำได้วางไข่และเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการรบกวน ทำให้ลูกสัตว์น้ำมีโอกาสเติบโต เพิ่มจำนวนสัตว์น้ำในทะเลไทย ทำให้ชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำได้เป็นจำนวนมากขึ้นและในขนาดใหญ่ขึ้นทุกปี ถือเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์จากท้องทะเล ทำให้ความอุดมสมบูรณ์อยู่คู่ทะเลไทยต่อไปอย่างยั่งยืน

ใส่ความเห็น