ใจความสำคัญ
- ประเทศไทยเป็นประเทศแรกของโลกที่ได้รับเลือกจาก WHO ให้เข้าร่วมการถอดบทเรียนการป้องกันการควบคุมไวรัส
โควิด-19 เนื่องจากไทยรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสังเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จมาได้ 6 ข้อ - ทีมผู้วิเคราะห์จาก WHO ชื่นชมไทยหลายด้าน อาทิ ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ ในการเฝ้าระวังโรค โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศจะต้องกักกันโรค การเฝ้าระวังที่เข้มแข็งในชุมชนเเละโรงพยาบาลโดยเจ้าหน้าที่ทางการเเพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกพื้นที่จำนวนกว่า 1,000 ทีม
ประเทศไทย

องค์กรอนามัยโลกขอถอดบทเรียนการป้องกันการควบคุมไวรัสโควิด-19 จากไทย
มาก
การประชุม

ใน
1. การประสานงาน การวางแผน การติดตามและประเมินผลในระดับประเทศ
2. การสื่อสารให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจถึงปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยง และการสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. การเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค และการติดตามผู้สัมผัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. มาตรการดูแลและเฝ้าระวังช่องทางเข้าออกประเทศ
5. ระบบห้องปฏิบัติการแห่งชาติ
6. การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
7. การจัดการผู้ป่วย และการแบ่งปันความรู้ นวัตกรรมและการวิจัย
8. การสนับสนุนการปฏิบัติงานและการขนส่งในห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการกำลังคน
9. การ
ซึ่งมาตรการสยบไวรัสโควิด-19 ของไทย ได้รับคำชื่นชมจากทีมผู้วิเคราะห์ อาทิ การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า การจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ที่นายกรัฐมนตรีได้ลงนามตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ย่อมมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ นอกจากนี้ หน่วยงานของไทยยังมีระบบที่ดีในการเฝ้าระวังโรคของผู้เดินทางจากต่างประเทศในสถานที่กักกันของประเทศไทย สามารถตรวจจับสถานการณ์ผิดปกติได้เร็ว และพัฒนานิยามผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนได้อย่างครอบคลุม มีการคัดกรองผู้เดินทางที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองการเฝ้าระวังในชุมชนเเละโรงพยาบาลโดยเจ้าหน้าที่ทางการเเพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เเละทีมสอบสวนโรคของทุกพื้นที่จำนวนกว่า 1,000 ทีม ฯลฯ

ภายหลังการร่วมกันถอดบทเรียนซึ่งใช้เวลาหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกันนานประมาณ 3 เดือนจนได้ข้อสรุป เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทน WHO ก็ได้ ร่วมกับผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขของไทย ตั้งโต๊ะแถลงผลการถอดบทเรียน
ผลการถอดบทเรียนและความสำเร็จของไทย
นพ.แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทน WHO ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการสังเคราะห์ข้อมูลของผู้ประเมินภายนอกจาก WHO หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผู้ให้สัมภาษณ์ ประกอบด้วยผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการและบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยมี 6 ข้อ ได้แก่
- ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง ได้รับข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุด
- ระบบบริหารที่ประยุกต์ได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
- ระบบการแพทย์และการสาธารณสุขที่แข็งแกร่งมีทรัพยากรพร้อมและทุกคนเข้าถึงได้
- ประสบการณ์รับมือการระบาดของโรคติดเชื้อ อาทิ โรคซาร์ส ไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอช 1 เอ็น 1
- การสื่อสารสม่ำเสมอและโปร่งใสนำไปสู่การให้ความร่วมมือของภาคประชาชนกับมาตรการป้องกันต่าง ๆ
- วิธีการแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมของภาควิชาการและเอกชน

เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ไทยในการป้องกันโรคระบาด WHO ยังมี 6 ข้อเสนอแนะหลักแก่ประเทศไทยเพิ่มเติม ประกอบด้วย
1. ข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติ ควรมีระบบฐานข้อมูลดิจิตอลใหม่ เพื่อบูรณาการข้อมูลระบาดวิทยา ข้อมูลห้องปฏิบัติการ ข้อมูลทางการแพทย์และการขนส่ง
2. ปกป้องบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานระดับประเทศด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
3. ปรับปรุงการค้นหาผู้ป่วย โดยขยายการเฝ้าระวัง
4. เสริมกำลัง
5. การกักกันที่ดีระดับโลก จัดตั้งหน่วยงานระดับประเทศที่มีอำนาจในการกักกันโรค เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและอำนวยการประสานงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ให้เป็นไปได้สะดวกขึ้น และ
6. เสริม
การ์ดต้องไม่ตก ต้องทบทวนเเละพัฒนาสม่ำเสมอ
ด้าน นพ.สุวรรณชัย
อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากWHO เพราะก่อนหน้านี้ที่ประชุมคณะกรรมการอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยที่ 73 ได้เลือกไทย ให้ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการฯ โดยมีวาระ 1 ปี อีกทั้ง WHO ยังเลือกประเทศไทย และนิวซีแลนด์ ในการถ่ายทำสารคดี ความสำเร็จในการจัดการการควบคุมและป้องกันการระบาดของไวรัส

แน่นอนว่า ความสำเร็จของประเทศไทยในครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และโดยเฉพาะประชาชนทุกคน แต่เวลานี้ยังมีความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องการ์ดไม่ตก ปฏิบัติตัวตามมาตรการด้านสาธารณสุขต่อไป เพราะ
ติดตามสารคดี ความสำเร็จในการจัดการการควบคุมและป้องกันการระบาดของไวรัส
ใส่ความเห็น