ใจความสำคัญ
- รัฐบาลมีนโยบายรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ โดยที่ผ่านมา ได้ดำเนินการดูแล แก้ไข ปกป้อง และสร้างการมีส่วนร่วมในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการดูแลและพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้คงความสมบูรณ์ในระยะยาว
- รัฐบาลได้เตรียมเสนอ “ดอยเชียงดาว” ขึ้นเป็น “พื้นที่สงวนชีวมณฑล” เพื่อยกระดับพื้นที่ทางธรรมชาติของประเทศไทยให้มีการยอมรับในระดับสากล ก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่า ร่วมกันรักษาและพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ภายใต้การอยู่ร่วมกันของชุมชนอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ยื่นเสนอ “ดอยหลวงเชียงดาว” จ. เชียงใหม่ ต่อองค์การยูเนสโก้ ให้เป็น “พื้นที่สงวน
มตินี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติโดยสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญในการบริหารทรัพยากรป่าไม้ อันเกี่ยวเนื่องกับดินและน้ำ รวมทั้งทรัพยากรทางทะเล พันธุ์พืช และสัตว์ ภายใต้การดูแล แก้ไข และปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติของไทยให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด เพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมา
แนวทางการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ เราจะต้องร่วมกันสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติให้กับคนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนในพื้นที่ และการรักษาไว้ซึ่งพื้นที่ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยมาตรการทางกฎหมายเข้ามาบังคับใช้ และการดำเนินงานด้านอนุรักษ์และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เช่น การฟื้นฟูชายฝั่งทะเล การฟื้นฟูป่าไม้ การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน การแก้ไขปัญหาขยะทางทะเล ฯลฯ นอกจากนั้น ยังควรเร่งยกระดับพื้นที่ทางธรรมชาติของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ภายใต้แนวทางการจัดการทรัพยากรที่มั่นคงและยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือ “พื้นที่ชีวมณฑล” (Biosphere Reserve)
ดอยหลวงเชียงดาว หรือ ดอยเชียงดาว อ. เชียงดาว
พื้นที่สงวนชีวมณฑล หมายถึง พื้นที่ซึ่งเป็นระบบนิเวศบนบก ทางทะเล และชายฝั่ง หรือระบบนิเวศทั้งหมดรวมกัน อันเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยไม่ได้จำกัดแค่ธรรมชาติ แต่รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เข้าไปด้วย สำหรับบทบาทหลักของพื้นที่สงวนชีวมณฑล คือ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งด้านป่าไม้ พันธุ์พืช และสัตว์ป่า ตลอดจนวัฒนธรรมในพื้นที่ ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันของคนกับป่าและพื้นที่ธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ระบบการจัดการและแบ่งอาณาเขตในการอนุรักษ์และการทำมาหากินในพื้นที่อย่างชัดเจน
บทบาทต่อมาคือ การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม ประเพณีและวัฒนธรรมรวม ทั้งบทบาทในการสนับสนุนการวิจัยและการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติและ ระดับนานาชาติ
องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ริเริ่มโครงการเขตสงวนชีวมณฑล (Man and Biosphere Reserves Programme) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ปัจจุบันมีพื้นที่สงวนชีวมณฑล 701 แห่ง ใน 124 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการมนุษย์และชีวมณฑล เมื่อปี พ.ศ. 2516 และปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑล 4 แห่ง คือ พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-ห้วยคอกม้า พื้นที่สงวนชีวมณฑลห้วยทาก และพื้นที่สงวนชีวมณฑลจังหวัดระนอง
แนวทางการดำเนินงานตามหลักการของยูเนสโก จะมีการแบ่งพื้นที่ดำเนินงานออกเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตแกนกลาง (Core Area) เขตกันชน (Buffer Zone) และเขตรอบนอก (Transition) เพื่อความยืดหยุ่นในการจัดการ และแบ่งเขตสำหรับการอาศัยและทำกินออกจากพื้นที่อนุรักษ์อย่างชัดเจน โดยพื้นที่สงวนชีวมณฑลในประเทศไทยทั้ง 4 แห่ง ได้ดำเนินการตามแนวทางอย่างเคร่งครัด และสามารถบรรลุเป้าหมาย ทั้งด้านการอนุรักษ์ การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช
พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช ตั้งอยู่ที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ต. วังน้ำเขียว
ปัจจุบัน สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อม สะแกราช เป็นพื้นที่สำหรับการแสวงหาองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งภูมิปัญญาไทย มีผู้มาใช้ประโยชน์จากสถานีวิจัยฯ ปีละนับพันคนจากประเทศไทยและต่างประเทศ สร้างผลงานวิจัยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 500 เรื่อง พื้นที่แห่งนี้มีความโดดเด่นของเห็ดซึ่งพบถึง 94 ชนิด พืชสมุนไพรอีกประมาณ 50 ชนิด มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่กว่า 480 ชนิด ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักคือ “จิ้งเหลนปักธงชัย” สัตว์ป่าหายาก พบได้ที่ป่าสะแกราชเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-ห้วยคอกม้า
พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-ห้วยคอกม้า หรือที่เรียกกันว่า ป่าดอยสุเทพ เป็นต้นธารน้ำ 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำแม่สา ในพื้นที่อำเภอแม่ริม และอำเภอสะเมิง และลุ่มน้ำคอกม้า อ. เมือง พื้นที่รวม 265,900 ไร่ ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลในปี พ.ศ. 2520
พื้นที่แห่งนี้มีชุมชนอาศัยอยู่ทั้งหมด 61 หมู่บ้าน มีประชากรรวม 39,941 คน ประชากรประกอบด้วยคนไทยพื้นเมืองเหนือ ชาวเขาเผ่าม้ง กะเหรี่ยง และลีซอ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ตลอดจนมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และเป็นพื้นที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาทสำคัญในการศึกษาและวิจัยทางด้านลุ่มน้ำและอุทกวิทยา และเป็นต้นแบบของการจัดการลุ่มน้ำของประเทศไทย โดยการนำระบบการจัดการลุ่มน้ำแบบผสมผสานมาใช้เป็นพื้นที่นำร่องที่แรกของประเทศไทย
เขตสงวนชีวมณฑลห้วยทาก
เขตสงวนชีวมณฑลห้วยทาก ตั้งอยู่ที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่งาว อ. งาว
นอกจากนี้ พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำยม เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้หลายชนิด โดยเฉพาะเมล็ดไม้สัก ในอดีตเป็นป่าสาธิตในด้านการทำป่าไม้ และได้ดำเนินการตามโครงการ ป่าต้นแบบเพื่อการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน เป็นสถานที่ฝึกอบรมผู้บริหารและนักวิจัยป่าไม้ และยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยเพื่อเป็นต้นแบบ ในการสนับสนุนการพัฒนาระดับท้องถิ่นระดับชาติและระดับโลก
พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง หรือ ศูนย์วิจัยป่าชายเลนระนอง ต. หงาว
ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าชายเลนระนอง จึงมีชนิดพันธุ์พืชและสัตว์น้ำที่มีความหลากหลายและมีจำนวนมาก มีสัตว์น้ำกว่า 300 ชนิด และพันธุ์พืชกว่า 50 ชนิด นับเป็นแหล่งส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการทำกิจกรรมจับสัตว์น้ำ การเลี้ยงปลาในกระชัง การทำฟาร์มปูนิ่ม การเพาะเลี้ยงกุ้ง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตปูทะเลหรือปูดำ และปูแสม โดยเฉพาะปูทะเล สามารถจับได้จากพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 200 ตันต่อปี ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตกะปิแบบดั้งเดิมในชุมชนเกาะเหลาซึ่งอยู่ในเขตกันชน เป็นต้น
พื้นที่สงวนชีวมณฑล เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างความคุณค่าและความตระหนักต่อทรัพยากรธรรมชาติ และใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการระบบนิเวศทางธรรมชาติให้คงความอุดมสมบูรณ์ มุ่งสร้างการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่ธรรมชาติที่เอื้อความสุขให้กับลมหายใจของผู้คน รวมทั้งได้อาศัยพื้นที่ในการทำมาหากินอย่างเป็นระบบโดยไม่เบียดเบียนกัน เพื่อให้ความสมบูรณ์นั้นคงอยู่กับเคียงข้างโลกใบนี้สืบไป
ใส่ความเห็น