ใจความสำคัญ
- เมื่อ
วันที่ 15 ธันวาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ ตรวจการ ก่อสร้าง สถานี กลาง บางซื่อ ซึ่ง ขณะนี้ ในส่วนของ ตัวอาคาร สถานี มีความคืบหน้า ไปแล้ว ถึง 99% งาน ระบบ ควบคุม คืบหน้า 89% คาดว่า จะ เปิดบริการ ให้แก่ ประชาชน ในช่วง เดือน พฤศจิกายน 2564 หลังจาก เวลา ก่อสร้าง ร่วม 8 ปี บน พื้นที่ กว่า 487 ไร่ - ต่อมา วันที่ 16 ธันวาคม 2563
นายกรัฐมนตรี ได้ เป็น ประธาน การเปิด ให้บริการ รถไฟฟ้า บีทีเอส สายสีเขียว ช่วง หมอชิต– สะพานใหม่ – คูคต เพิ่มขึ้นอีก 7 สถานี ทำให้ ขณะนี้ รถไฟฟ้า บีทีเอส เปิด ได้ ครบ ทั้ง 59 สถานีแล้ว โดยใช้เวลา ก่อสร้าง ทีละ เส้นทาง รวมทั้งสิ้น 21 ปี - ณ วันนี้ ประเทศไทย
มี รถไฟฟ้า ที่ เปิด ให้บริการ แล้ว รวมเป็นระยะทาง 168 กิโลเมตร จากระยะทาง ทั้งหมด 560 กิโลเมตร ที่กำหนดไว้ ในแผนแม่บท รถไฟฟ้า โดยใน จำนวน 168 กิโลเมตร นี้ เกิดขึ้น ในยุคของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถึง 81 กิโลเมตร
ในอดีต
ณ วันนี้ กล่าวได้ว่า ประเทศไทย
เริ่มต้น
เมื่อแล้วเสร็จ สถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมระบบรางแห่งใหม่ที่ทันสมัยที่สุดของประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน ล้มแชมป์เก่าอย่าง “สถานี KL Sentral” ของประเทศมาเลเซียลงได้

นอกจากสถานีกลางบางซื่อจะเชื่อมโยงการคมนาคมไปยังทุกภาคของประเทศไทยแล้ว ยังจะ
“ทางราง” เชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน รถไฟชานเมืองสายสีแดง รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง
“ทางบก”
“ทางน้ำ” สามารถนั่งรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ไปลงสถานีบางโพ ก่อนเชื่อมต่อไปยังท่าเรือบางโพ และบริการเรือด่วนเจ้าพระยา
“ทางอากาศ” สถานีกลางบางซื่อ จะเป็นจุดจอดของสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

อ่านรายละเอียดทั้งหมดของสถานีกลางบางซื่อได้ที่ www.pmdu.go.th/bangsue-main-station-to-asian
การก่อสร้างรถไฟก็เป็นอีกหนึ่งความคืบหน้าที่สำคัญ เริ่มกันที่รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และได้เดินรถทดสอบระบบเป็นที่เรียบร้อย ยังคงเหลือเพียงงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ซึ่งมีความก้าวหน้า 89.10% หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตจะเปิดทดลองใช้ในเดือนกรกฎาคม และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
สำหรับการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร นั้น ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2555 แต่กำลังรอการติดตั้งระบบเดินรถที่ รฟท. นำไปรวมกับช่วงบางซื่อ-รังสิต
ทั้งหมดนี้ จะทำให้รถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีสถานีรวมทั้งสิ้น 13 สถานี ระยะทางรวมประมาณ 38 กิโลเมตร วิ่งเชื่อมกรุงเทพฯ ฝั่งเหนือไปยังฝั่งตะวันตก ขนส่งผู้โดยสารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองเข้าสู่กรุงเทพฯ ด้วยระบบรางที่รวดเร็ว ถือเป็นการช่วยทำให้ระบบขนส่งมวลชนทางรางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญจะช่วยลดปัญหารถติดบนท้องถนนด้วย

สำหรับอัตราค่าโดยสารเบื้องต้น รฟท. จะกำหนดตามมาตรฐาน โดยมีราคาค่าแรกเข้าอยู่ที่ 15 บาท และจะปรับเพิ่มขึ้นตามระยะทาง ทั้งนี้ เมื่อเปิดให้บริการแล้ว คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ 86,000 คน/วัน
ต่อกันด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ที่ได้ฤกษ์เปิดให้บริการครบทุกสถานีไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยเปิดช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคตเพิ่มอีก 7 สถานี ซึ่งถือเป็นส่วนสุดท้ายของโครงการ ประกอบไปด้วย สถานีพหลโยธิน 59 (N18) สถานี

การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียวครบทุกเส้นทาง ทำให้ประชาชนใน 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ กรุงเทพฯ และปทุมธานี สามารถเดินทางถึงกันได้อย่างไร้รอยต่อ รวดเร็ว และปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ตลอดจน
ปิดท้ายด้วยรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1 รถไฟฟ้าที่มีระยะสั้นที่สุดในประเทศไทย ด้วยระยะทางเพียง 1.8 กิโลเมตร มีสถานีจำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน ซึ่งได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยไปแล้วเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 รถไฟฟ้าสายสีทองเป็นรถไฟฟ้าขนาดรองแบบรางเดี่ยว (โมโนเรล) ที่มีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่รับส่งผู้โดยสารจากเขตคลองสานและเขตธนบุรีเข้าสู่รถไฟฟ้าสายหลัก โดยรัฐบาล คสช. ได้อนุมัติการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้เมื่อปี 2560 ภายหลังจากที่ย่านนี้มีการเติบโตด้านการค้าและมีการลงทุนโครงการต่าง ๆ จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของฝั่งธนบุรี

รถไฟฟ้าสายสีทอง จะช่วยเชื่อมโยงการเดินทางของประชาชนทั้งทางรถยนต์ ราง และเรือ โดยเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมที่สถานีกรุงธนบุรี และในอนาคตจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่สถานีประชาธิปก และรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย ที่สถานีคลองสาน อีกทั้งเชื่อมการเดินทางทางน้ำ สำหรับประชาชนที่ใช้บริการเรือข้ามฟาก และเรือด่วนเจ้าพระยา ที่ท่าเรือคลองสานและท่าเรือไอคอนสยาม
สำหรับรายละเอียดของขบวนรถ เป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 จำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ความจุผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ มีที่จอดรถเข็นสำหรับผู้พิการตู้ละ1 คัน มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นรถไฟฟ้าระบบไร้คนขับสายแรกของประเทศไทย และเป็นรถไฟฟ้าที่ใช้ล้อยาง สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คาดว่า จะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 42,000 คนต่อวัน โดยมีความถี่ของการเดินรถในช่วงเวลาเร่งด่วน 5-6 นาที และเปิดให้บริการเวลา 06.00-24.00 น.
รถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน ได้เปิดให้บริการฟรีเป็นเวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2563 – 15 มกราคม 2564 ขณะนี้เริ่มเก็บค่าโดยสารแล้วแต่อยู่ในอัตราค่าใช้บริการแบบคงที่ที่ 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2564 เป็นต้นมา
ในอนาคตจะมีการก่อสร้างงระยะที่ 2 เพิ่มเติมอีก 0.9 กิโลเมตร ตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านสถาบัน

การที่โครงการรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เปิดเพิ่มอีก 2 ช่วงนี้ ทำให้เวลานี้ประเทศไทยมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วรวมเป็นระยะทาง 168 กิโลเมตร จากระยะทางทั้งหมดในแผนแม่บทรถไฟฟ้า 560 กิโลเมตร
โดยระยะทาง 168 กิโลเมตร และสถานีทั้งหมด 126 สถานี แบ่งเป็น
1. สีเขียว – ระยะทาง 66.7 กิโลเมตร จำนวนสถานี 59 สถานี
2. สายสีน้ำเงิน – ระยะทาง 48 กิโลเมตร จำนวนสถานี 40 สถานี
3. แอร์พอร์ตลิงก์ – ระยะทาง 28.5 กิโลเมตร จำนวนสถานี 8 สถานี
4. สายสีม่วง – ระยะทาง 23 กิโลเมตร จำนวนสถานี 16 สถานี
5. สายสีทอง – ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร จำนวนสถานี 3 สถานี
จะเห็นได้ว่า ในระยะเวลา 6 ปี ที่ พลเอก

เมื่อวันที่ 15 และ 16 ธันวาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าทั้งการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ การทดสอบรถไฟชานเมืองสายสีแดง และเป็นประธานเปิดการเดินรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายในข้างต้น โดยนายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีที่โครงการต่าง ๆ มีความคืบหน้า และยืนยันว่า รัฐบาลจะมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศไทยให้ขยายออกไปไกลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่ได้วางเอาไว้

ใส่ความเห็น