หลังจากที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 รัฐบาลจึงได้ยกระดับให้การดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ และได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน และมีกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานหลักในเรื่องนี้
ท่านสามารถติดตามความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ตลอดจนก้าวต่อไปที่ทุกคนจะสามารถมีส่วนร่วมได้ จากบทสัมภาษณ์นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ที่นี่
นอกจากนี้ ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์ PM 2.5 ได้ตลอดทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.)”
เกี่ยวกับศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.)
ศกพ. เป็นศูนย์บูรณาการงานและข้อมูลจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง อันจะก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบกับสุขภาพของประชาชน ดำเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ มีอธิบดีกรมควบคุมมลพิษเป็นประธานโดย ศกพ. มีมาตรการเฉพาะกิจ 12 มาตรการ ดังนี้
- สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ภายใต้คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
- บริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า
- สร้างเครือข่ายอาสาสมัครและจิตอาสาเป็นกลไกหลักเข้าถึงและติดต่อสื่อสารกับพื้นที่ เฝ้าระวังและดับไฟ
- เร่งขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ภายใต้ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
- เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
- พยากรณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า 3 วัน เพื่อแจ้งเตือนประชาชน
- ประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการรายงานปริมาณฝุ่นละอองเชิงพื้นที่
- พัฒนาระบบคาดการณ์ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาและใช้งานแอปพลิเคชันบัญชาการดับไฟป่า
- บริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยใช้แอปพลิเคชันลงทะเบียนจัดการเชื้อเพลิง
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลป่าไม้ และลดการเผาป่า ผ่านการจัดที่ดินทำกิน
- เจรจาสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งระดับอาเซียน ระดับทวิภาคี และระดับพื้นที่ชายแดน
ใส่ความเห็น